Skip to content

DATA DRIVEN คืออะไร สิ่งที่เจ้าของธุรกิจไม่ควรพลาด

ERPHERO-odoo-ERP-Data driven (1)

สำหรับการทำธุรกิจแล้ว เป็นเรื่องธรรมดาที่จะมีการนำข้อมูลของลูกค้ามาวิเคราะห์เพื่อกำหนดแนวทางทำการตลาด โดย Data Driven ก็เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดที่ใช้ข้อมูลมาประยุกต์ในการทำงาน โดยเฉพาะในองค์กรที่ต้องการพัฒนาระบบโครงสร้างภายใน Data Driven นับว่าเป็นสิ่งที่สามารถขับเคลื่อนองค์กรให้เป็นไปตามเป้าหมายตามต้องการได้

Data Driven คืออะไร?

      คือ กลยุทธ์ทางการตลาดที่ใช้ข้อมูลที่ได้จากลูกค้ามาจัดการ วิเคราะห์ เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจในการวางกลยุทธ์การตลาดอื่นๆ ในอนาคต ซึ่งข้อมูลของลูกค้าสามารถศึกษาได้จากผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าเลือก พฤติกรรมการบริโภค การตอบสนองของลูกค้าต่อโฆษณาต่างๆ เมื่อได้ข้อมูลเหล่านี้มาแล้ว จะนำไปคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า และใช้เป็นฐานข้อมูลในการวางแผนกลยุทธ์อื่นๆ เพื่อสร้าง Return on investment (ROI) ให้ได้มากที่สุดนั่นเอง

      นับว่าเป็นการทำการตลาดแบบใหม่ เนื่องจากข้อมูลคือสิ่งที่ทำให้เราเข้าใจ รู้จักลูกค้าได้ดี ว่าลูกค้ามีความชอบ ความสนใจ หรือมีความต้องการไปในแนวทางไหน และทำให้เราสามารถเสนอสินค้าและบริการให้ตรงความต้องการของลูกค้า เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกเป็นเหมือนคนสำคัญ เราจึงจะสามารถรักษาลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาวได้

องค์ประกอบของ Data Driven Decision Making

      Data Driven Decision Making คือ การนำข้อมูล สถิติ และข้อเท็จจริงมาเป็นแนวทางในการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดให้สอดคล้องกับเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และแนวคิดขององค์กร เป็นการเสริมกลยุทธ์ Data Driven ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ Data Driven มีองค์ประกอบที่จำเป็นเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ดังนี้

ข้อมูล CRM

      CRM หรือ Customer relationship management เป็นแพลตฟอร์มการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ และยังเป็นองค์ประกอบหลักของ Data Driven Marketing เพราะ CRM จะรวบรวม interaction ของลูกค้าไว้ในที่เดียว จึงเป็นแหล่งข้อมูล insight ลูกค้าที่สำคัญ ทำให้สามารถแบ่งกลุ่มลูกค้าที่มีปฏิสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์ได้อย่างชัดเจน และสามารถปรับแต่งกลยุทธ์เพื่อให้สอดคล้องกับประสบการณ์ของลูกค้าได้อย่างเจาะจงมากขึ้น

ข้อมูลการวิเคราะห์เว็บ

      ข้อมูลการวิเคราะห์เว็บ คือ ที่รวบรวมข้อมูล interactions ของผู้บริโภคที่มาใช้งานในหน้าเว็บไซต์ขององค์กร โดยจะบอกถึงข้อมูลการเยี่ยมชมหน้าเว็บไซต์และเป้าหมายของลูกค้าที่ทำสำเร็จ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยในการสร้างและปรับแต่งประสบการณ์ของลูกค้าให้ดีขึ้นได้

ข้อมูลจากแอปมือถือ

      ข้อมูลจากแอปมือถือ คือ ข้อมูลที่ได้จากการใช้เครื่องมือวิเคราะห์แอปมือถือ คล้ายคลึงกับข้อมูลการวิเคราะห์เว็บที่ต้องใช้เครื่องมือเช่นเดียวกัน โดยข้อมูลจากแอปมือถือสามารถบอก insight เชิงลึกที่เกี่ยวกับการโต้ตอบระหว่างผู้บริโภคกับผลิตภัณฑ์ได้ สามารถบอกได้ทั้ง feature ที่ผู้บริโภคชื่นชอบ, conversion, เส้นทาง และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพแอปมือถือ รวมไปถึงปรับแต่งให้เข้ากับการใช้งานของลูกค้าด้วย

ข้อมูลธุรกรรม

      ข้อมูลธุรกรรม คือ ข้อมูลการทำธุรกรรมของลูกค้า ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่งของ business data driven ที่จะช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า ทำให้คาดการณ์ได้ว่าลูกค้าจะซื้ออะไรอีกในอนาคต นอกจากนั้นยังช่วยให้ปรับแต่งประสบการณ์ของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

ข้อมูลการติดตามการโทรและการสนทนา

      นอกเหนือจากการโต้ตอบทางออนไลน์ องค์ประกอบสำคัญอีกอย่างคือ ข้อมูลที่ได้จากการใช้เครื่องมือที่สามารถติดตามการโทรและการสนทนาอัจฉริยะได้ โดยการใช้ AI เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาของการสนทนา จะเป็นการเพิ่มความเข้าใจ รับรู้ความตั้งใจ และความต้องการอย่างเร่งด่วนของลูกค้า อีกทั้งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยเติมเต็มจุดอ่อนที่สำคัญและช่วยให้ปรับแต่งประสบการณ์ของลูกค้าตามการสนทนาทางโทรศัพท์อีกด้วย

Data Driven มีความสัมพันธ์และเป็นประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไร?

      Data Driven ไม่เพียงแต่จะนำข้อมูลไปใช้ในทางการตลาด แต่ยังสามารถนำข้อมูลมาขับเคลื่อนองค์กร ให้มีการพัฒนาไปสู่ความก้าวหน้าได้ด้วยเช่นกัน มาดูกันว่า Data Driven สามารถทำได้อย่างไรบ้าง

พัฒนาระบบบริหารบุคคล

      Data Driven สามารถนำมาพัฒนาระบบบริหารบุคคลได้ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลในองค์กรที่ทันสมัย แม่นยำ และถูกต้องอย่างเป็นระบบ แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ในการดำเนินงานในทุกระดับ ทำให้สามารถมองเห็นภาพรวมขององค์กร และองค์กรที่ใช้ Data Driven จะต้องมีการรวบรวม วิเคราะห์ และปรับปรุงข้อมูลอยู่เสมอ เป็นการเสริมประสิทธิภาพการทำงานในองค์กรให้มีความคล่องตัวมากขึ้น อีกทั้งเมื่อองค์กรประสบปัญหา เช่น ปัญหาพนักงาน หรือปัญหาในระบบต่างๆ ก็จะสามารถนำข้อมูลมาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้อีกด้วย

ต่อยอดธุรกิจ

     ปัจจุบันมีการแข่งขันทางธุรกิจสูง สำหรับองค์กรที่ใช้ Data Driven จะมีโอกาสต่อยอดธุรกิจและได้เปรียบมากกว่าองค์กรอื่นๆ เพราะ Data Driven นั้น เป็นกลยุทธ์ที่ให้ข้อมูลเชิงลึก สามารถมองเห็นถึงแนวโน้มของตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค ความต้องการของลูกค้า กลยุทธ์ของคู่แข่ง และยังให้ข้อมูลอีกมากมายที่สามารถสร้างโอกาสการขายได้มากกว่า อีกทั้งยังสามารถคาดการณ์แนวโน้มในอนาคตได้ ทำให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในตลาด และสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้ตอบโจทย์กับลูกค้าได้ดีกว่าด้วย

ข้อดีและข้อเสีย

ข้อดีและข้อเสียของ Data Driven

จากการศึกษาและงานวิจัยนั้น กล่าวว่า Data Driven มีประโยชน์และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจในหลายๆ ด้าน ดังนี้

ข้อดีของ Data Driven

เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ

     ปัจจุบันนี้หลายๆ องค์กรเริ่มเปลี่ยนจากการตัดสินใจโดยใช้สัญชาตญาณ มาเป็นการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลแทน ซึ่ง Data Driven จะเป็นข้อมูลอย่างดีที่จะช่วยให้ตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง และยังเป็น back up ในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ อีกด้วย

ช่วยปรับปรุง ROI

      Return on investment (ROI) คือ สิ่งที่แสดงผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน โดยธุรกิจที่ใช้ Data Driven จะทราบถึงข้อมูลของลูกค้าว่าสิ่งใดตอบโจทย์กับลูกค้ามากที่สุด นำไปสู่การสร้างแคมเปญการตลาดที่เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น มีการซื้อมากขึ้น และช่วยปรับปรุง ROI ให้สูงขึ้นได้นั่นเอง

เพิ่มยอดขาย ได้กำไรเพิ่ม

      ธุรกิจที่ใช้ Data Driven มีแนวโน้มที่จะได้เปรียบในการแข่งขันและเพิ่มความสามารถในการทำกำไรได้มากกว่า เพราะข้อมูลที่รวบรวมมาจะทำให้ทราบได้ว่าลูกค้ากลุ่มใดที่มีกำลังซื้อและเหมาะสมกับธุรกิจมากที่สุด ทำให้สามารถเจาะจงกลุ่มลูกค้าได้ ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นยอดขายได้ และไม่ต้องเสียเงินทุนและเวลาไปกับกลุ่มลูกค้าที่ไม่ได้สนใจในธุรกิจของคุณ

ช่วยให้กำหนดขนาดของธุรกิจได้

      กลยุทธ์ Data Driven จะขยายขนาดธุรกิจไปได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถกำหนดขนาดของธุรกิจได้โดยการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ว่ากลุ่มลูกค้าที่เป็นหลักสำคัญนั้นคือกลุ่มใด ซึ่งจะสามารถทุ่มเงินและเวลาไปกับกลุ่มลูกค้าหลักได้ โดยที่ยังอยู่ในขอบเขตขนาดของธุรกิจได้

ตัดสินใจอย่างแม่นยำได้โดยง่าย เนื่องจากมีข้อมูลแบบเรียลไทม์ช่วยเพิ่มความแม่นยำและความเป็นกลาง ทำให้ตัดสินใจได้เฉียบขาด

ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพราะการวิเคราะห์ข้อมูลเผยให้เห็นถึงโอกาสในการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการต่าง ๆ ในดำเนินงานได้

คาดการณ์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรได้ เช่น คาดการณ์แนวโน้ม พฤติกรรมของลูกค้า และปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

ปรับปรุงความเข้าใจที่มีต่อลูกค้า ด้วยข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวกับความชอบและพฤติกรรมของลูกค้า ทำให้สามารถกระตุ้นการมีส่วนร่วมของลูกค้าได้ดีขึ้น

มีความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ การใช้ประโยชน์จากข้อมูลสามารถทำให้ได้ข้อได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ ช่วยให้ขึ้นเป็นผู้นำทางธุรกิจและเหนือกว่าคู่แข่งที่ไม่มีการใช้ข้อมูลให้เกิดประสิทธิภาพ

ข้อเสียของ Data Driven

ปัญหาด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล การเข้าไปจัดการข้อมูลในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดความกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยได้

ยึดติดเทคโนโลยีมากเกินไป เมื่อเทคโนโลยีที่ใช้เกิดข้อผิดพลาดทางเทคนิค อาจส่งผลกระทบไปยังการเข้าถึงและความถูกต้องของข้อมูลด้วย

พึ่งพาข้อมูลมากเกินไป อาจทำให้บุคคลในองค์กรละเลยสัญชาตญาณ ขาดความคิดสร้างสรรค์ในการตัดสินใจ เพราะเคยชินกับการตัดสินใจจากข้อมูลที่มี

มีความท้าทายในการดำเนินการเพื่อเป็น Data-Driven Organization เพราะการผลักดันให้เป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลนั้น จำเป็นต้องสร้างวัฒนธรรมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลขึ้นภายในองค์กร รวมไปถึงยังต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม ซึ่งก็จำเป็นต้องลงทุนและเตรียมตัวจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

เกิดภาวะข้อมูลท่วมท้น (Data Overload) อย่างที่รู้กันว่า อะไรที่มากเกินไปนั้นไม่ใช่เรื่องดี เพราะการที่องค์กรรวบรวมข้อมูลมาเป็นจำนวนมหาศาล ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ข้อมูลลดลง แยกแยะข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวข้องได้อย่างยากลำบาก ทำให้การตัดสินใจแย่ลง

      สรุปแล้ว Data Driven คือ การนำข้อมูลที่ได้จากลูกค้ามาวิเคราะห์เพื่อวางกลยุทธ์ คาดการณ์ และช่วยตัดสินใจในการดำเนินงานต่างๆ ในธุรกิจ ซึ่งต้องมีองค์ประกอบสำคัญต่างๆ เช่น CRM เครื่องมือวิเคราะห์เว็บ ฯลฯ มาช่วยรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล โดยในปัจจุบันนี้ Data Driven เริ่มเป็นกลยุทธ์มาตรฐานที่หลายธุรกิจเลือกใช้ เพราะช่วยเพิ่มความคล่องตัวและเพิ่มประสิทธิภาพการทำธุรกิจได้

Odoo ยังมีรายการแอปพลิเคชันที่ครอบคลุมมากกว่า 70 รายการเพื่อจัดการธุรกิจของคุณ 

สนใจบริการ ERP Implement & Consulting ติดต่อได้ที่
Email : bds@goconnext.com
Tel. : 088-809-0910 to 16
Line OA : @erphero

#SME #erphero #erp  #odoo #ระบบERP #CRM #POS #sale #invoicing #โปรแกรมบัญชี #purchase #Inventory #MRP