วิธีการจัดการองค์กรให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ได้อย่างไร
การปฏิรูปการทำงานให้ทันสมัย หรือการจัดการองค์กร ถือเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรควรจะต้องลงมือทำ การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานแต่ละคนเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ในบริษัทที่คำนึงเรื่องการเติบโตขององค์กร
การปรับให้การทำงาน ภายในองค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยที่ยังรักษาบุคลากรให้ยังอยากทำงานกับองค์กรต่อไปจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น แต่ทว่า ควรจะเริ่มต้นกันอย่างไร
โดยทั่วไปแล้ว ประสิทธิภาพในการทำงานจะหมายถึง การใช้ทรัพยากรที่จำเป็นให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่เท่ากัน ซึ่งเป็นเรื่องของการใช้ปัจจัยและกระบวนการในการดำเนินงาน
โดยประสิทธิภาพอาจไม่แสดงเป็นค่าประสิทธิภาพเชิงตัวเลข แต่แสดงด้วยการบันทึกถึงลักษณะการใช้เงิน วัสดุ คน และเวลา ในการปฏิบัติงานอย่างคุ้มค่า ประหยัด ไม่มีการสูญเปล่าเกินความจำเป็น รวมถึงมีการใช้กลยุทธ์หรือเทคนิควิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม สามารถนำไปสู่การบังเกิดผลได้เร็วและมีคุณภาพ ประเภทของประสิทธิภาพในการทำงาน มี 2 ระดับคือ
1. ประสิทธิภาพการทำงานของบุคคล
ประสิทธิภาพการทำงานของบุคคล หมายถึงค่านิยมการทำการทำงานเสร็จโดยสูญเสียเวลา และพลังงานน้อยที่สุด เป็นการทำงานของบุคคลที่ทำได้เร็วและได้งานดี
2. ประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร
ประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร คือ การที่องค์กรสามารถดำเนินงานต่าง ๆ ตามภารกิจหน้าที่ขององค์กร โดยใช้ทรัพยากร ปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงกำลังคนได้อย่างคุ้มค่า มีการสูญเปล่าน้อยที่สุด มีลักษณะการดำเนินงานไปสู่ผลตามวัตถุประสงค์ ซึ่งจะประหยัดทั้งเวลา ทรัพยากร และกำลังคน
7 เทคนิคสำหรับการจัดการองค์กรให้ทันสมัย
1. ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน
องค์กรควรตั้งเป้าหมายในการทำงานภายในก่อน เพื่อพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และเพื่อทำให้บุคลากรมีความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันว่า การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร พร้อมเหตุผลที่ทำไมบุคลากรในองค์กรจึงต้องพัฒนาทักษะของตนเอง
เพื่อให้สอดคล้องกันกับ Digital Transformation ที่จะมาถึง หากทุกคนมีความเข้าใจและมีเป้าหมายเดียวกัน จะทำให้องค์กรมีการจัดการองค์กรที่เห็นเป็นภาพเดียวกัน พร้อมสร้างโอกาสขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ดีขึ้น เพราะทุกคนมีความเข้าใจในวัตุประสงค์ขององค์กร และตื่นตัวในการรับมือ
2. พัฒนากลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์
การวางแผนงานโดยใช้กลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะสม คือกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงองค์กร ซึ่งทุกคนในทีมจะต้องมีการสื่อสารภายในองค์กร เพื่อสร้าง Mindset และความเข้าใจให้ตรงกัน
การวางแผนกลยุทธ์นี้จะต้องดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และมีการวางแผนทั้งแบบระยะสั้น และระยะยาว เพื่อให้ตอบโจทย์กันกับเป้าหมายขององค์กรที่สร้างไว้ และผลักดันพนักงานให้เกิดแรงจูงใหม่ ๆ
3. ใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการทำงาน
ฝ่ายบุคคลในยุคดิจิทัลจำเป็นต้องมีทักษะในการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยี เพื่อพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ซึ่งผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์ หรือฝ่ายบุคคลควรที่จะทราบว่า เทคโนโลยีหรือเครื่องมือที่จำเป็นต่าง ๆ สำหรับการขับเคลื่อนแผนงานควรมีอะไรบ้าง
4. แพลตฟอร์ม Digital คือพื้นที่เพื่อการสื่อสาร
ในปัจจุบัน นักการตลาดใช้เครื่องมือดิจิทัล และโซเชียลมีเดียเพื่อสื่อสารไปยังผู้บริโภค สำหรับการซื้อขายสินค้าและบริการในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งในแง่มุมขององค์กร ฝ่ายบุคคลสามารถใช้พื้นที่ออนไลน์เพื่อรับสมัครพนักงาน และสื่อสารไปยังผู้ที่กำลังมองหางานได้ ซึ่งแพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับการรับสมัครงานยอดนิยม
5. พยายามสร้างแรงจูงใจให้แก่พนักงาน
ยิ่งพนักงานมีแรงจูงใจในการทำงานมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตต่อชั่วโมงได้มากขึ้นเท่านั้น แม้ว่าเวิร์คโฟลว์และเนื้อหาของงานจะเหมือนเดิม แต่ก็น่าจะคาดหวังประสิทธิภาพที่ดีขึ้น และการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดอย่างรวดเร็วได้
การสร้างแรงจูงใจที่ง่ายที่สุด คือการปรับปรุงผลตอบแทนของพนักงาน เช่น การขึ้นค่าตอบแทน สวัสดิการ หรือเพิ่มวันหยุด เป็นต้น อย่างไรก็ตามก่อนจะสร้างรายจ่ายของบริษัทให้เพิ่มขึ้น อาจจะต้องมีการใช้เทคนิคนิดหน่อย เช่นการให้โบนัสเพิ่มหากสามารถสร้างผลงานจากการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ เป็นต้น
6. พัฒนาทักษะของพนักงาน
แม้ว่าจำนวนพนักงานจะเท่าเดิม แต่ถ้าพนักงานแต่ละคนมีทักษะการทำงานดีขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานต่อชั่วโมงก็สูงขึ้นได้ วิธีการพัฒนาทักษะโดยทั่วไปน่าจะเป็นการสนับสนุนการสอบวัดระดับความสามารถ หรือการเรียนรู้เพิ่มเติม โดยวิธีเหล่านี้มีค่าจ่ายเช่นเดียวกับการสร้างแรงจูงใจ ดังนั้นการมีค่าใช้จ่ายสูงและต้องพิจารณาควบคู่กับผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นว่าคุ้มค่าไหม
การทบทวนเวิร์คโฟลว์และคู่มือการทำงานประจำวันก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยพัฒนาทักษะของพนักงาน แม้ในงานเดียวกัน หากลองทำงานในวิธีการที่แตกต่างออกไป วิธีนั้นอาจแสดงความสามารถที่ไม่เคยรู้มาก่อนก็เป็นไปได้ อาจมองไม่เห็นว่าจะไปเชื่อมโยงกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยังไง แต่อีกประเด็นที่ควรคำนึงเสมอก็คือการวาง “รากฐาน” ของบริษัทให้แข็งแรง
7. แก้ปัญหาการขาดแคลนบุคคลากร
ควรคำนึงถึงขนาดที่เหมาะสมของบริษัท แต่หากมีบุคลากรไม่เพียงพอ อย่าว่าแต่การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต แค่จะทำงานให้สำเร็จลุล่วงก็ยังยาก ญี่ปุ่นกำลังประสบปัญหาประชากรลดลงที่มีสาเหตุจากอัตราการเกิดต่ำและสังคมผู้สูงอายุ จึงทำให้ขาดแคลนแรงงานในทุกประเภทอุตสาหกรรม จึงทำให้การหาบุคลากรที่มีทักษะเหมาะสมกับที่ต้องการเป็นเรื่องยากขึ้นไปอีก ยิ่งธุรกิจที่ต้องใช้ทักษะขั้นสูงมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีแนวโน้มประสบปัญหามากขึ้นเท่านั้น
การจัดการองค์กรให้ทันสมัย เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้การทำงาน เป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีให้แก่องค์กรของเรา ซึ่ง Odoo เป็นแพลตฟอร์มการจัดการองค์กรที่ทันสมัยและครบวงจร ช่วยให้องค์กรของคุณสามารถปรับตัวให้ทันต่อยุคดิจิทัล และประสบความสำเร็จในระยะยาว
และ Odoo ยังมีรายการแอปพลิเคชันที่ครอบคลุมมากกว่า 80 รายการเพื่อจัดการธุรกิจของคุณ หากท่านสนใจระบบ ERP อย่าลังเลที่จะติดต่อผู้ให้บริการซอฟต์แวร์เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม และทดลองใช้งานระบบจริง
สนใจบริการ ERP Implement & Consulting ติดต่อได้ที่
Email : [email protected]
Tel. : 088-809-0910 to 16
Line OA : @erphero
#SME #erphero #erp #odoo #ระบบERP #CRM #POS #sale #invoicing #โปรแกรมบัญชี #purchase #Inventory #MRP
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง :