10 ข้อผิดพลาดที่ร้านค้าปลีกไทยมักเจอ
ทำไมร้านค้าปลีก ขนาดเล็กส่วนใหญ่ถึงล้มเหลว ? นี่คงเป็นคำถามที่เจ้าของธุรกิจค้าปลีกหลายคนกำลังสงสัยกันอยู่
ก็อย่างที่เรารู้กันดีนั่นแหละว่า การทำธุรกิจนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะคุณจะต้องทำความเข้าใจหลายอย่างทั้งวางแผนร้าน วางแผนการขาย บริหารจัดการพนักงาน และทำอะไรอีกตั้งมากมาย
ยุคนี้ร้านค้าปลีกต้องรวดเร็ว คล่องตัว และยืดหยุ่น เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้ลูกค้า และก้าวทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา บทความนี้จะพาคุณไปสำรวจ 10 ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยของร้านค้าปลีกไทย
10 ข้อผิดพลาดที่ร้านค้าปลีกไทยมักเจอ
1. ขาดการจัดการที่ดี
ซึ่งการจัดการนั้นเกี่ยวข้องกับทัศนคติและความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรม แล้วบางทีเจ้าของร้านบางคนก็อาจจะยึดตัวเองเป็นหลักมากเกินไป อารมณ์ร้อน ทั้งยังขาดความรู้ ดังนั้นถ้าอยากอยู่เหนือเกมธุรกิจค้าปลีกและดูแลร้านให้เติบโตอย่างมั่นคง ก็ควรศึกษาตลาด พฤติกรรมของลูกค้า เทรนด์สินค้า และทำความรู้จักพนักงานเพื่อจะได้ปรับตัวพร้อมบริหารจัดการร้านได้ดียิ่งขึ้น เท่านี้อะไร ๆ ก็จะลงตัวกว่าเดิมแล้ว
2. ขาดข้อมูลสำคัญในการพัฒนาร้าน
รายงานยอดขาย ผลงานพนักงาน ข้อมูลลูกค้า จำนวนสต๊อก ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้คือข้อมูลสำคัญในการต่อยอดธุรกิจของคุณ แล้วถ้าหากคุณไม่สามารถเช็คข้อมูลเหล่านี้ได้แบบเรียลไทม์ ก็จะทำให้การตัดสินใจทางธุรกิจไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ซึ่งเจ้าของร้านค้าปลีกขนาดเล็กหลายคนอาจจะมองข้ามข้อนี้ไป
แล้วเจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่มักจะไม่เจอปัญหานี้เพราะพวกเขามีตัวช่วยเก็บข้อมูลสำคัญ ทั้งยังดูรายงานกับความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในร้านได้แบบเรียลไทม์ ที่สำคัญ พวกเขาสามารถจัดการร้านได้ทุกที่ทุกเวลาด้วยตัวช่วยเจ๋ง ๆ อย่างระบบ POS ระบบนี้จึงเปรียบเสมือนหัวใจสำคัญในการดูแลร้านของเจ้าของธุรกิจยุคใหม่
3. ไม่ยอมปรับตัวให้เข้ากับยุคแห่งเทคโนโลยี
คุณอาจจะตกใจเมื่อรู้ว่าสาเหตุหลัก ๆ อีกหนึ่งข้อที่ทำให้ร้านค้าปลีกขนาดเล็กหลายร้านปิดตัวลงก็คือ การที่เจ้าของร้านไม่ยอมปรับตัวให้เข้ากับลูกค้าในยุคเทคโนโลยี จริงอยู่ที่การขายสินค้าหน้าร้านช่วยให้มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าและเข้าถึงได้ง่ายกว่า แต่อย่าลืมว่า ทุกวันนี้ใคร ๆ ก็รักความสะดวกสบายกันทั้งนั้น
4. ไม่ถนัดงานด้านบัญชี
เจ้าของร้านค้าปลีกหลายคนคิดว่าแค่มีสินค้าคุณภาพดีขาย ลูกค้าแฮปปี้กับสินค้า พร้อมกลยุทธ์การตลาดที่ดีและเงินทุนมหาศาลก็ทำให้ประสบความสำเร็จได้แล้ว แต่อย่าลืมว่าการบริหารร้านให้เติบโตไม่ได้มีแค่นั้น เพราะคุณต้องรู้วิธีทำบัญชีด้วย แน่นอนว่าเจ้าของร้านบางคนไม่รู้วิธีทำ Excel Sheet หรือใช้สูตรคำนวณทำบัญชีด้วยซ้ำ . . .
ทั้งนี้ยังมีการสำรวจพบว่า 47% ของเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กไม่ชอบงานบัญชีและ 13% ไม่ชอบงานบริหารที่น่าปวดหัวและกินเวลาในแต่ละวัน ถ้าคุณไม่อยากรับมือกับปัญหาเหล่านี้
5. จัดการทุกอย่างด้วยตัวเอง
เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กมักจะคิดว่าตัวเองสามารถบริหารจัดการทุกอย่างได้ด้วยตัวเองจนอาจจะลืมไปว่าพวกเขาก็คือคนปกติทั่วไป ที่มีทั้งข้อดีและข้อด้อย แถมยังใช้เวลาดูแลร้านมากมายในแต่ละวัน
ทำไมไม่ลองหาผู้ช่วยมาแบ่งเบาภาระและลดความเครียดในการดูแลร้านค้าปลีกของคุณล่ะ ? ลองจ้างพนักงานมาช่วยสักคน หรือจะลงทุนซื้อโปรแกรมขายหน้าร้าน เพราะระบบนี้ช่วยลดปัญหาในการบริหารจัดการร้านได้เป็นอย่างดี ตั้งแต่การซื้อ–ขาย, การจัดการสต๊อกสินค้า, บริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM), วางแผนโปรโมชั่น, บริหารพนักงาน และอื่น ๆ อีกมากมาย
6. ขายสินค้าไม่ได้
ในฐานะเจ้าของธุรกิจค้าปลีกแล้วคงจะไม่มีอะไรเจ็บปวดไปกว่าการขายสินค้าไม่ถึงเป้า ปัญหานี้เกิดขึ้นได้เมื่อคุณหวังพึ่งลูกค้าเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ถ้าขายเครื่องเขียนหน้าโรงเรียน หรือขายเสื้อผ้าในมหาวิทยาลัย ร้านของคุณก็จะเงียบเหงาทุกครั้งที่ปิดเทอม เพราะฉะนั้นคุณจึงต้องปรับตัวและวางแผนการขายล่วงหน้า
นอกจากนี้สิ่งที่จะช่วยให้คุณมียอดขายทะลุเป้าก็คือ การเก็บข้อมูลลูกค้าที่มีและใช้ข้อมูลนั้นทำการตลาดเพื่อเรียกลูกค้าเหล่านั้นกลับมาซื้อของที่ร้านของคุณ
7. ไม่มีการเติบโตที่ยั่งยืน
ในการทำธุรกิจค้าปลีกและธุรกิจต่าง ๆ นั้นการเติบโตช้า ๆ อย่างสม่ำเสมอจะนำไปสู่ความยั่งยืน เพราะหากขยายร้านเร็วเกินไป ก็อาจจะทำให้มีหนี้เพิ่มขึ้นมาแทนได้ อีกอย่างถ้าคุณทำอะไรเกินที่ตัวเองจะรับมือไหว ก็จะทำให้คุณเหนื่อยและหมดไฟในการทำงานเปล่า ๆ ส่งผลให้ดูแลร้านและบริหารได้ไม่เต็มที่ เรียกว่ามีแต่เสียกับเสีย
ดังนั้นอย่าลืมวางแผนการขยายธุรกิจและจัดการเรื่องการเงินให้ละเอียดก่อนเริ่มเปิดร้านค้าปลีกขนาดเล็กของคุณจะดีกว่า หรือไม่เช่นนั้นก็ลองพูดคุยกับที่ปรึกษาทางด้านธุรกิจของคุณเพื่อหาทางออก
8. ไร้ซึ่งระบบจัดการสต๊อกสินค้าคุณภาพ
ร้านค้าปลีกขนาดเล็กของคุณไม่สามารถประสบความสำเร็จได้หากไม่มีระบบการจัดการสต๊อกสินค้าหรือสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะนี่เป็นปัญหาหลักของเจ้าของธุรกิจหลายคน และเมื่อคุณไม่รู้จำนวนสต๊อกสินค้าที่แน่นอน ก็ทำให้จัดการสินค้าได้ไม่ดีพอ บางครั้งอาจมีสินค้าไม่พอขาย หรือบางครั้งก็อาจเผลอสั่งสินค้าเยอะเกินจนล้นโกดัง
9. ไม่เข้าใจพฤติกรรมกลุ่มลูกค้าหลัก
เจ้าของธุรกิจค้าปลีกหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าลูกค้ามักโพสต์ในโลกโซเชียลอย่าง Facebook, LINE, Instagram และ Twitter เมื่อพวกเขาไม่พอใจในสินค้าและบริการ หรือบางคนก็อาจจะเขียนรีวิวเชิงลบบน Google จากนั้นเมื่อลูกค้าคนอื่นเจอรีวิวเชิงลบเหล่านี้ก็จะลังเลที่จะมาซื้อของที่ร้านค้าปลีกของคุณ ไม่แน่ลูกค้าของคุณอาจจะค่อย ๆ หายไปในที่สุดก็ได้
ดังนั้นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ ขายสินค้าคุณภาพเยี่ยมและให้บริการที่ดีที่สุดจากทางร้าน จะได้รักษาชื่อเสียงของร้านพร้อมเพิ่มความมั่นใจให้กับกลุ่มลูกค้าของคุณ ที่สำคัญ อย่าลืมตอบรีวิวลูกค้าหรือคอมเม้นต์ตามโซเชียลด้วย ลูกค้าจะได้รู้ว่าคุณมีตัวตนในโลกออนไลน์และพร้อมน้อมรับคำติชมเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข แล้วพวกเขาก็จะสัมผัสได้ว่าร้านของคุณจริงใจและใส่ใจลูกค้าทุกคน
10. ไม่มีแผนธุรกิจ หรือ แผนดีไม่พอ
เมื่อพูดถึงเรื่องแผนธุรกิจแล้ว สิ่งที่คุณคิดอาจจะฟังเหมือนดูดี แต่ในความจริงอาจจะไม่เป็นอย่างนั้น เพราะถ้าหากตั้งใจจะเปิดร้านค้าปลีกขนาดเล็กแล้ว คุณต้องศึกษาข้อมูลให้ดีและวางแผนอย่างรัดกุม
แผนธุรกิจที่ดีจะช่วยให้ร้านค้าปลีกของคุณโดดเด่นกว่าคู่แข่งและอยู่ในวงการได้อย่างยั่งยืน หากคุณเป็นเจ้าของร้านขายเสื้อผ้า ลองคิดดูสิว่าคุณจะทำยังไงให้แตกต่างจากร้านอื่น ต้องขายเสื้อผ้าแนวไหน ต้องมีบริการรูปแบบใด หรือว่าตกแต่งร้านยังไงให้ตรงใจกลุ่มลูกค้ามากที่สุด ?
เมื่อคุณตอบคำถามเหล่านี้ได้ คุณก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จในการเปิดร้านค้าปลีกมากขึ้น
สาเหตุทั้ง 10 ข้อนี้คือ สิ่งที่เจ้าของร้านค้าปลีกขนาดเล็กต้องระมัดระวังให้ดีถ้าไม่อยากให้ธุรกิจปิดตัวลง เมื่อคุณเรียนรู้ปัญหาและรู้วิธีรับมือแล้ว ก็จะบริหารจัดการร้านให้ประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก แต่ไม่ว่าจะเจออุปสรรคใด ๆ ระหว่างทาง จงอย่ายอมแพ้ง่าย ๆ เพราะสิ่งดี ๆ มักใช้เวลาเสมอ และเมื่อคุณได้เห็นผลผลิตของสิ่งที่ได้ทุ่มเทไป ก็จะหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้งแน่นอน !
Odoo แก้ปัญหาให้ร้านค้าปลีกไทยได้อย่างไร?
1. การจัดการสต๊อกที่ไม่ดี: ร้านค้าปลีกไทยมักประสบปัญหาสินค้าขาดสต๊อกหรือสต๊อกมากเกินไป การใช้ Odoo ช่วยให้สามารถจัดการสต๊อกได้อย่างแม่นยำ สามารถติดตามสินค้าคงคลังแบบเรียลไทม์ และสั่งซื้อสินค้าเพิ่มเติมได้อย่างทันท่วงที
2. การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่ไม่ดี: ร้านค้าปลีกไทยมักไม่สามารถจดจำลูกค้าแต่ละคนได้อย่างละเอียด การใช้ Odoo ช่วยให้สามารถจัดเก็บข้อมูลลูกค้าได้อย่างเป็นระบบ สามารถติดตามประวัติการซื้อสินค้าของลูกค้าแต่ละคน และนำเสนอโปรโมชั่นที่ตรงใจ
3. การขายสินค้าออนไลน์ที่ไม่สะดวก: ร้านค้าปลีกไทยมักประสบปัญหาเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่ใช้งานไม่สะดวก การใช้ Odoo ช่วยให้สามารถสร้างเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันสำหรับขายสินค้าออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย รองรับการชำระเงินแบบต่างๆ และจัดส่งสินค้าได้อย่างรวดเร็ว
4. การตลาดที่ไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย: ร้านค้าปลีกไทยมักทำการตลาดแบบหว่านแห ไม่สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด การใช้ Odoo ช่วยให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าและทำการตลาดแบบเฉพาะเจาะจง ส่งผลให้แคมเปญการตลาดมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5. การบริการหลังการขายที่ไม่ดี: ร้านค้าปลีกไทยมักไม่สามารถแก้ไขปัญหาลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว การใช้ Odoo ช่วยให้สามารถติดตามปัญหาของลูกค้าได้แบบเรียลไทม์ และแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
6. การจัดการพนักงานที่ไม่ดี: ร้านค้าปลีกไทยมักประสบปัญหาพนักงานขาดความรู้ความสามารถ การใช้ Odoo ช่วยให้สามารถจัดเก็บข้อมูลพนักงานได้อย่างเป็นระบบ สามารถติดตามผลงานของพนักงานแต่ละคน และจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของพนักงาน
7. การจัดการการเงินที่ไม่ดี: ร้านค้าปลีกไทยมักประสบปัญหาการเงินรั่วไหล การใช้ Odoo ช่วยให้สามารถติดตามการเงินของร้านค้าได้แบบเรียลไทม์ สามารถวิเคราะห์รายรับรายจ่าย และวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8. การขาดระบบการบริหารจัดการที่เป็นมาตรฐาน: ร้านค้าปลีกไทยมักไม่มีระบบการบริหารจัดการที่เป็นมาตรฐาน การใช้ Odoo ช่วยให้สามารถสร้างระบบการบริหารจัดการที่เป็นมาตรฐาน สามารถติดตามผลการดำเนินงานของร้านค้าได้อย่างละเอียด และนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงร้านค้า
9. การขาดการวิเคราะห์ข้อมูล: ร้านค้าปลีกไทยมักไม่สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงร้านค้า การใช้ Odoo ช่วยให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการขาย ข้อมูลการเงิน และข้อมูลอื่นๆ เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงร้านค้า
10. การขาดการปรับตัว: ร้านค้าปลีกไทยมักไม่สามารถปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป การใช้ Odoo ช่วยให้สามารถปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ๆ และนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของร้านค้า
Odoo เป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ที่สามารถปรับแต่งให้ตรงกับความต้องการของร้านค้าปลีกไทยได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ Odoo มีโมดูลต่างๆ มากมายที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ร้านค้าปลีกไทยมักเจอได้อย่างตรงจุด
และ Odoo ยังมีรายการแอปพลิเคชันที่ครอบคลุมมากกว่า 80 รายการเพื่อจัดการธุรกิจของคุณ หากท่านสนใจระบบ ERP อย่าลังเลที่จะติดต่อผู้ให้บริการซอฟต์แวร์เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม และทดลองใช้งานระบบจริง
สนใจบริการ ERP Implement & Consulting ติดต่อได้ที่
Email : bds@goconnext.com
Tel. : 088-809-0910 to 16
Line OA : @erphero
#SME #erphero #erp #odoo #ระบบERP #CRM #POS #sale #invoicing #โปรแกรมบัญชี #purchase #Inventory #MRP
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง :