DATA DRIVEN คืออะไร สิ่งที่เจ้าของธุรกิจไม่ควรพลาด
หน้าร้านก็ขายดี แต่กลับไม่เห็นกำไร เผลอๆ อาจจะเข้าเนื้อจนขาดทุนเสียอีกด้วย ให้สงสัยได้เลยว่าคุณ อาจจะเจอปัญหา Dead Stock อยู่ก็ได้ ปัญหาร้ายที่คุณอาจจะมองไม่เห็น แล้ว Dead Stock คืออะไร เกิดจากอะไร? จะส่งผลเสียอย่างไรกับธุรกิจของคุณ?
Dead Stock คือสินค้าคงคลังที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ค้างอยู่ในสต๊อกเป็นเวลานานและไม่มีวี่แววจะขายออก จนทำให้สินค้าเสื่อมสภาพและหมดอายุ จนขายไม่ได้ในที่สุด เผินๆ ก็เป็นแค่สินค้าเน่าเสียหรือพังไป แต่มันส่งผลต่อร้านของคุณมากกว่านั้น
Dead stock เมื่อไม่มีการเคลื่อนไหวนานมากกว่า 6 เดือน ซึ่งสาเหตุของการมีสินค้าค้างสต็อกอยู่ก็เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
- สินค้าค้างสต๊อกเพราะสินค้าถูกตีคืนจากลูกค้า และขายไม่ได้
- สินค้าค้างสต๊อกเพราะสินค้าเกิดความเสียหาย
- สินค้าค้างสต๊อกเพราะสินค้าล้าสมัย ทำให้ไม่มีความต้องการอีกต่อไป ขายไม่ออก
- สินค้าค้างสต๊อกเพราะเป็นสินค้าประเภทที่มีความต้องการใช้น้อย หรืออาจมีความต้องการในกลุ่มลูกค้าที่เจาะจงมาก ๆ เท่านั้น (Niche market)
- สินค้าค้างสต๊อกเพราะสินค้าไม่เคลื่อนไหว (ตลอดกาล)
- สินค้าค้างสต๊อกเพราะสินค้ากลายเป็นเศษซาก หรือของเสีย
ทำไม Dead Stock ถึงส่งผลเสียกับธุรกิจ
แบกต้นทุน
แน่นอนว่าการเก็บสินค้าเอาไว้ในคลัง อาจจะทำให้คุณต้องแบกต้นทุนเพิ่มขึ้นกว่าเดิมกว่า 30% ไปกับค่าทรัพยากรณ์เพื่อเก็บรักษาและมีแนวโน้มจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ตราบใดที่สินค้ายังค้างอยู่ในคลังและทั้งหมดจะสูญเปล่าทันทีที่สินค้าเสื่อมสภาพ
เสียโอกาส
แน่นอนว่าทุกอย่างภายในร้านมีมูลค่า รวมไปถึงพื้นที่สำหรับการจัดเก็บสินค้าเช่นกัน เพราะมันอาจจะเป็นพื้นที่สร้างกำไรให้กับร้านของคุณได้ แต่คุณกลับเสียพื้นที่ไปกับการเก็บสินค้าที่ขายไม่ออก ที่อาจจะสูญเปล่าไปด้วยหากขายไม่ออกแล้วเสื่อมสภาพเช่นกันค่ะ
ต้นทุนจม
สินค้าในคลัง คือเงินที่คุณจ่ายล่วงหน้าเพื่อขายกลับมาเป็นเงินสด ถ้าขายไม่ออกและค้างสต๊อกจนเสื่อมสภาพ แน่นอนว่าเงินทุนที่จ่ายไปจะไม่มีโอกาสคืนทุนได้เลยค่ะ
วิธีการจัดการสินค้าค้างสต๊อก
1.วิเคราะห์ยอดขายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดซื้อ
ถ้าคุณไม่อยากมีสินค้าค้างสต๊อก แต่จะพยากรณ์ได้อย่างไรว่าสินค้าชิ้นนี้จะขายออกได้ไหม แล้วต้องสต๊อกไว้เท่าไหร่ถึงจะเพียงพอต่อความต้องการ คุณสามารถดูได้จากการวิเคราะห์ยอดขาย ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กับอัตราการหมุนเวียนของสินค้า
สำหรับธุรกิจที่เปิดมานานแล้ว การวิเคราะห์ยอดขายอาจทำได้ไม่ยาก โดยนำข้อมูลเก่า ๆ มาเรียบเรียง และศึกษาดูพฤติกรรมการบริโภคของฐานลูกค้าเก่าอย่างไรก็ตามสำหรับ ธุรกิจใหม่ คุณอาจสอบถามไปยัง Supplier เพื่อขอข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้า หรือใช้วิธีค่อย ๆ เริ่มสต๊อกสินค้าทีละน้อยแล้วค่อย ๆ เพิ่มจำนวนหากอัตราการเคลื่อนไหวของสต๊อกเริ่มเข้าที่
2.ใช้ระบบจัดการสต๊อกสินค้า
จัดการสินค้าค้างสต๊อกโดยการใช้ระบบจัดการสต๊อกสินค้าที่ปัจจุบันเป็นที่นิยมกันอย่างระบบ Fulfillment ที่ช่วยพ่อค้าและแม่ค้าออนไลน์ หรือผู้ประกอบการที่ไม่มีความชำนาญ ไม่มีเวลาบริหารสต็อกสินค้า จัดเก็บ-แพ็คและส่งสินค้า พร้อมระบบจัดการสต็อกสินค้าที่ผู้ประกอบการสามารถเห็นความเคลื่อนไหวของสินค้าได้แบบ Realtime
ทำให้คุณรู้ว่าเมื่อไหร่ที่สินค้ากำลังจะหมด หรือ Out of stock ช่วยให้สามารถทำการจัดซื้อสินค้าเข้าสต๊อกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เสียโอกาสในการขายเพราะสั่งของไม่ทัน และยังช่วยลดความเสี่ยงสินค้าขายไม่ออกหรือคงค้าง เพราะเมื่อคุณสามารถเห็นความเคลื่อนไหวของสต๊อกได้ตลอดเวลา ทำให้มีเวลาไปคิดเรื่องการจัดโปร เพื่อระบายสินค้าออกจากคลังได้ทันที
3.ขายสินค้าในรูปแบบพรีออเดอร์
เลือกรูปแบบการขายสินค้าแบบ Pre-order ซึ่งลูกค้าต้องทำการจอง หรือแจ้งความประสงค์ในการซื้อสินค้าที่กำลังจะพรีออเดอร์มาเสียก่อน ช่วยทำให้ลดปริมาณสินค้าค้างสต๊อกได้ โดยคุณสามารถจัดเก็บเงินทั้งจำนวนได้ทันที หรือจะให้ลูกค้ามัดจำไว้ก่อนก็สามารถทำได้แล้วแต่การตกลง
การพรีออเดอร์ทำให้คุณสั่งซื้อสินค้าเข้ามาเท่าที่พอขาย คุณจะสามารถทราบปริมาณความต้องการของผู้บริโภคได้ก่อน ลดความเสี่ยงการเกิดสินค้าคงค้างในสต็อก อย่างไรก็ตาม การพรีออเดอร์สินค้า ไม่อาจสามารถทำได้ในทุก ๆ ประเภทสินค้า เช่น สินค้าที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาด ลูกค้าก็ไม่จำเป็นรอการพรีออเดอร์ สู้ไปเลือกซื้อสินค้าที่มีอยู่เลย
4.จัดโปรโมชั่นลด แลก แจก แถม
การจัดโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขายเป็นวิธีช่วยระบายสินค้าค้างสต๊อกได้ดี แต่คุณต้องทำให้ทันเวลา เช่น สินค้าในปมวดอิเล็กทรอนิกส์ที่ตกรุ่นและล้าสมัยเร็ว หากจัดโปรโมชั่นไม่ทันกาล ไม่ว่าจะลดสักกี่เปอร์เซ็นต์ มีของแถมอีกกี่ชิ้น ก็ไม่อาจระบายสินค้าค้างสต๊อกออกไปให้ทันได้
ระบบจัดการสต๊อกจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณบริหารจัดการสต๊อกได้ทันท่วงที เนื่องจากคุณจะเห็นความเคลื่อนไว้ของสินค้าในคลังของคุณตลอดเวลานั่นเอง
5.ขายสินค้าออกตามแบบ FIFO
สินค้าที่มีอายุการใช้งาน หรือสินค้าที่เน่าเสียได้เช่น อาหารกระป๋อง เครื่องสำอาง เป็นต้น ควรถูกจัดเก็บอย่างมีระบบ และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากค่าความเสื่อมตามระยะเวลาหรืออายุการใช้งานของสินค้านั้น ๆ ได้
การบริหารระบบจัดการ สินค้าค้างสต๊อก ที่ดี ถือเป็นเคล็ดลับความสำเร็จอย่างหนึ่งของธุรกิจเลยก็ว่าได้ เพราะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นของกิจการ และเป็นการเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าจากระบบการจัดซื้อที่มีประสิทธิภาพอีกด้วย
เพียงเท่านี้ร้านของคุณก็มีสต๊อกสินค้าที่จัดการได้สะดวก ช่วยให้คุณขายหน้าร้านได้อย่างคล่องตัวไม่มีติดขัดค่ะ ทำให้คุณมีเวลาไปดูแลจัดการในส่วนอื่นของร้านได้ดียิ่งขึ้น
Odoo ยังมีรายการแอปพลิเคชันที่ครอบคลุมมากกว่า 70 รายการเพื่อจัดการธุรกิจของคุณ
สนใจบริการ ERP Implement & Consulting ติดต่อได้ที่
Email : bds@goconnext.com
Tel. : 088-809-0910 to 16
Line OA : @erphero
#SME #erphero #erp #odoo #ระบบERP #CRM #POS #sale #invoicing #โปรแกรมบัญชี #purchase #Inventory #MRP