BOM คืออะไร? ช่วยลดต้นทุนได้อย่างไร
BOM ที่ย่อมาจาก Bill of Materials คือ หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการวางแผนการผลิตหรือดำเนินการระบบผลิต (Manufacturing System) เป็นเอกสารหรือฐานข้อมูลที่ระบุว่าในกระบวนการผลิตโปรดักต์หนึ่งๆ นั้น ว่าต้องใช้ชิ้นส่วน วัตถุดิบ วัสดุอะไรบ้าง จำนวนเท่าไหร่ พร้อมระบุรายละเอียดต่างๆ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการวางระบบการผลิต อีกทั้งยังใช้สำหรับตรวจสอบและควบคุมต้นทุนการผลิตได้อีกด้วย
Bill of Materials หรือ BOM คืออะไร
BOM (Bill of Materials) คือ รายการส่วนประกอบหรือสูตรการผลิต หรืออาจเรียกอีกอย่างได้ว่า “Product Structure” ที่ระบุองค์ประกอบ วัสดุ วัตถุดิบ หรือชิ้นส่วนต่างๆ ที่ต้องใช้ในกระบวนการผลิตโปรดักต์ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ เครื่องยนต์ หรือว่าอาหาร
โดย Bill of Materials แสดงโครงสร้างการผลิตเก้าอี้ 1 ตัว แบ่งออกเป็น 3 ระดับ แต่ละระดับจะแสดงชิ้นส่วนประกอบที่ต้องใช้ในแต่ละขั้นตอน จากรายย่อยจนถึงผลลัพท์สุดท้ายของการผลิต
ระดับ 0 เป็นผลลัพท์สุดท้ายของการผลิต (End Product) ที่ประกอบเอาวัสดุทั้ง 3 ส่วนหลัก จากระดับ 1 จนเสร็จเป็นเก้าอี้ 1 ตัว
ระดับ 1 เป็นการแยกส่วนเก้าอี้ ออกเป็น 3 ส่วนหลัก (Parts / Assembly) หลังจากที่ ประกอบเอาส่วนเล็กๆในระดับ 2 เข้าด้วยกัน
ระดับ 2 เป็นชิ้นส่วนเล็กรายย่อยที่ยังไม่ได้ประกอบ (Materials / Sub-Assembly) ทั้งพนักพิง ขาเก้าอี้ และอื่นๆ ที่จะนำไปใช้ประกอบในระดับที่ 2
โดยที่ความซับซ้อนของระดับสูตรการผลิต จะขึ้นอยู่กับลักษณะของสินค้าที่ผลิตว่ามีรายละเอียดมากน้อยแค่ไหน
ประโยชน์ของ BOM ที่จำเป็นต่อธุรกิจ
การเขียนรายการส่วนประกอบที่แตกลำดับหรือทำออกมาเป็นแผนผังได้ จะช่วยให้ธุรกิจหรือตัวโรงงาน ทั้งระดับควบคุมงาน และผู้ปฏิบัติการเข้าใจโครงสร้างของการผลิตอย่างแท้จริง ซึ่งช่วยให้เกิดประโยชน์หลักๆ ใน 2 เรื่อง ได้แก่
1. ควบคุมงบประมาณและให้ช่วยสร้างความโปร่งใส
BOM ไม่ใช่แค่คำสั่งให้เครื่องจักรทำงานตามที่เรากำหนด แต่ยังมีประโยชน์ในตรวจสอบสิ่งที่ต้องใช้และต้นทุนแยกออกมาเป็นรายการๆ ซึ่งช่วยให้ธุรกิจรู้ที่มาที่ไปของค่าใช้จ่ายต่างๆ และแยกพิจารณาได้ว่า ราคาต้นทุนของวัสดุ/วัตถุดิบแต่ละรายการสมเหตุสมผลหรือไม่
2. ควบคุมคุณภาพของชิ้นส่วน/วัตถุดิบต่างๆ และโปรดักต์สำเร็จ (End Product)
ลิสต์รายการชิ้นส่วนหรือวัสดุต่างๆ ที่ระบุรายละเอียดจำนวน/ปริมาณ ราคา รายละเอียดเฉพาะ (Specification) จะช่วยให้ธุรกิจสามารถรีวิวคุณภาพของสิ่งที่ใช้ได้
10 ส่วนประกอบของ BOM ที่ควรจะมี
รายละเอียดของ BOM ที่ควรจะมี ?
1. จำนวน (Quantity): จำนวนของวัสดุ ชิ้นส่วน หรือปริมาณของวัตถุดิบที่ต้องใช้ในการผลิตโปดักต์
2. หน่วยวัด (Unit of Measurement): ลักษณะนามหรือหน่วยของวัสดุ ชิ้นส่วน หรือวัตถุดิบ เช่น ชิ้น, กรัม, กิโลกรัม, ลิตร เป็นต้น
3. ลำดับชั้นของชิ้นส่วน (BOM Level): คือลำดับที่ชิ้นส่วนต่างๆ ประกอบเข้าด้วยกันเป็นพาร์ทที่ใหญ่ขึ้นเพื่อที่จะประกอบกันเป็นโปรดักต์สำเร็จ ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจว่า ชิ้นส่วนใดต้องมาประกอบกันก่อน-หลัง
4. โน้ตหรือหมายเหตุ (BOM Note): สำหรับใช้เพิ่มเติมข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นต้องระบุมากกว่ารายละเอียดหลัก
5. เลขชิ้นส่วนหรือ ID (Part Number): จำเป็นต้องมีเพื่อใช้อ้างอิงชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบต่างๆ ซึ่งจะมีประโยชน์มากๆ กับการผลิตโปรดักต์ที่มีความซับซ้อน ใช้ชิ้นส่วนปริมาณมาก
6. ชื่อชิ้นส่วน (Part Name): ชื่อเรียกของชิ้นส่วนนั้นๆ ซึ่งเมื่อประกอบกับเลขชิ้นส่วนกำกับ ก็จะยิ่งช่วยระบุชิ้นส่วนให้แยกออกจากกันได้ชัดเจน
7. วัตถุดิบตั้งต้น (Raw Materials): วัตถุดิบหรือสสารชั้นต้นก่อนที่จะถูกนำมาใช้ผลิตเป็นชิ้นส่วนต่างๆ เช่น เหล็ก ทราย พลาสติก เป็นต้น
8. รายละเอียดวัสดุ (Description): คำอธิบายถึงชิ้นส่วนหรือวัสดุต่างๆ ในรายการ ซึ่งจะอธิบายชื่อชิ้นส่วนเพิ่มเติมว่าหมายถึงอะไร
9. ราคา (Price): ระบุราคาของชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบต่างๆ ซึ่งช่วยในการคำนวณต้นทุนหรือควบคุมงบประมาณได้
10. กระบวนการจัดซื้อจัดหา (Method of Procurement): รายละเอียดที่ระบุว่าชิ้นส่วนนั้นๆ ได้มาได้อย่างไร จัดซื้อมาจากข้างนอกหรือผลิตเองภายใน โดยรายละเอียดส่วนนี้ สามารถใช้ดูได้ว่าชิ้นส่วนต่างๆ มาจากซัพพลายเออร์เจ้าใด
รายละเอียดทั้ง 10 ข้อ คือ รายละเอียดพื้นฐานของการเขียนรายการส่วนประกอบ หรือสูตรการผลิต (Bill of Materials) ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของโปรดักต์และความจำเป็นของโรงงาน/ธุรกิจว่า จะระบุรายละเอียดใดบ้าง หรือจะเพิ่มรายละเอียดอื่นๆ ที่จำเป็น เช่น รูปภาพ ขนาด ค่าแรง ระยะเวลาที่ใช้ รายละเอียดในการผลิต เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า BOM ไม่ใช่แค่การทำเอกสารหรือชุดข้อมูลรายการวัสดุ/วัตถุดิบตามกระบวนการที่ควรจะทำเท่านั้น หากธุรกิจเข้าใจความสำคัญและประโยชน์ของการเขียน Bill of Materials รวมไปถึงว่า อ่านและสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบการผลิตของธุรกิจก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในมุมของต้นทุนที่สามารถทำให้ถูกลงได้ มุมของการรักษาคุณภาพโปรดักต์ และการตรวจสอบเพื่อแก้ปัญหาได้ตรงจุด
ระบบ Bill of materials นั้นเป็นส่วนหนึ่งของระบบ ERP ส่วนใหญ่แล้วการใช้ระบบ BOM ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจำเป็นต้องมีระบบอื่นๆ คอยรองรับ
สนใจบริการ ERP Implement & Consulting ติดต่อได้ที่
Email : bds@goconnext.com
Tel. : 088-809-0910 to 16
Line OA : @erphero
#SME #erphero #erp #odoo #ระบบERP #CRM #POS #sale #invoicing #โปรแกรมบัญชี #purchase #Inventory #MRP