คลังสินค้า (WAREHOUSE) คืออะไร ทำไมการบริหารสินค้าคงคลังจึงสำคัญ ?
คลังสินค้า (WAREHOUSE) คืออะไร
คลังสินค้า (Warehouse) หมายถึง สถานที่ใช้ในการเก็บรักษาสินค้าให้อยู่ในสภาพดี และมีคุณสมบัติที่พร้อมจะส่งมอบ โดยคลังสินค้าทำหน้าที่เป็นสถานที่พักและเก็บสินค้าหรือวัตถุดิบหรือวัสดุสิ่งของต่างๆ จนกว่าจะมีการเคลื่อนย้าย ส่งมอบไปสู่ผู้ที่มีความต้องการ ไม่ว่าจะเพื่อการผลิต หรือเพื่อจำหน่าย จ่าย แจก หรือ ขาย
ความสำคัญของคลังสินค้า (WAREHOUSE)
สินค้าคงคลังหรือสินค้าคงเหลือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจการผลิตและธุรกิจซื้อมาขายไปเป็นอย่างมาก เพื่อให้ธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่นในการผลิตสินค้าที่ไม่ขาดตอน ธุรกิจก็ต้องสต๊อกวัตถุดิบ เพื่อใช้ในการผลิตและยังต้องเก็บสต๊อกสินค้าสำเร็จรูปไว้เผื่อขายด้วย
กิจการที่มีสต๊อกจำนวนมากก็เป็นปัญหาทั้งสถานที่เก็บและยังเป็นปัญหาที่ต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนจำนวนมากอีกด้วย การบริหารสินค้าคงคลังให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องบริหารจัดการให้ดีเพื่อให้มีสินค้าขายและมีต้นทุนการเงินที่ต่ำไปด้วย
เลือกคลังสินค้าอย่างไรให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ?
คลังสินค้าสามารถแบ่งได้หลายประเภท แต่ละประเภทก็เหมาะสำหรับธุรกิจที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นหากคุณเป็นผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจหน้าใหม่หรือผู้ประกอบการเดิมที่กำลังมองหาคลังสินค้าเพื่อขยายธุรกิจ
คุณจำเป็นต้องศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับคลังสินค้าแต่ละประเภทให้ดีเพื่อให้สามารถเลือกคลังสินค้าได้เหมาะกับธุรกิจและสินค้าของคุณ โดยทั่วไปแล้ว คลังสินค้าจะแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ คือ
- คลังสินค้าทั่วไป ที่ใช้สำหรับจัดเก็บสินค้าเพื่อการอุปโภค สินค้าสำเร็จรูปข้าวของเครื่องใช้ทั่วไป อะไหล่ชิ้นส่วนต่าง ๆ
- คลังสินค้าของสด หรือ คลังสินค้าห้องเย็น ที่ใช้สำหรับจัดเก็บสินค้าที่มีลักษณะเป็นของสด เช่น ผัก ผลไม้ อาหาร เครื่องดื่ม อาหารทะเล ฯลฯ
- คลังสินค้าอันตราย ที่ใช้สำหรับจัดเก็บสินค้าหรือวัตถุดิบที่มีส่วนประกอบที่อาจเป็นอันตรายหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี สารพิษ เชื้อเพลิง วัตถุไวไฟ วัตถุระเบิด และวัตถุที่เป็นอันตรายอื่น ๆ
- คลังสินค้าพิเศษ ที่ใช้สำหรับจัดเก็บสินค้าที่มีมูลค่า เช่น เครื่องสำอาง ยาและเวชภัณฑ์ต่าง ๆ รวมถึงสารเคมีบางชนิด
บทบาทหน้าที่ของการจัดการคลังสินค้า
วัตถุประสงค์หลักของคลังสินค้าจะเกี่ยวข้องกับบทบาทในการอำนวยความสะดวก (Facilitate) ให้สินค้า และวัตถุดิบ สามารถส่งมอบให้ลูกค้าหรือสายการผลิตในโซ่อุปทานได้อย่างทันเวลาและมีความต่อเนื่อง
โดยบทบาทของคลังสินค้ามีหน้าที่สำคัญ 6 อย่าง ดังนี้
1. การรับสินค้า (Receiving)
โดยการตรวจสอบจำนวน คุณลักษณะในการแยกแยะ จัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่ โดยการจัดการที่มีระบบการตรวจสอบ และตรวจนับความถูกต้องที่เกี่ยวกับปริมาณ จำนวน สภาพ และคุณภาพ
2. การควบคุมและรับผิดชอบต่อสินค้าที่จัดเก็บอยู่ในคลัง (Storage & Controlling)
ซึ่งต้องอาศัยการบริหารจัดการทั้งการใช้เทคนิค เทคโนโลยีในการเก็บและทักษะเครื่องมือและเครื่องทุ่นแรงประเภทต่างๆ รวมถึงอาศัยระบบและการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นระบบ Automated Robot System (ระบบหุ่นยนต์) ระบบ Bar Code หรือ RFID รวมถึงระบบการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์
3. การคัดแยกสินค้า
การ Packing การแบ่งบรรจุ การคัดเลือก การติดป้าย (Pick & Pack) คลังสินค้า ในฐานะกลไกโลจิสติกส์ในการรวบรวม จัดเก็บสินค้ายังทำหน้าที่อื่นตามที่ลูกค้าต้องการ (Services On Demand) ในธุรกิจการให้บริการคลังสินค้ารายได้ในส่วนนี้อาจพอๆ กับรายได้ในการจัดเก็บสินค้าหรือ ให้เช่าพื้นที่
4. การควบคุมทางด้านเอกสาร
เกี่ยวกับรายงาน (Inventory Control) การเคลื่อนไหว การรับ และการเบิก-จ่าย ที่เรียกว่า Inventory Report และการควบคุมทางบัญชีโดยต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้า จะเป็นจำนวนหนึ่งในสามของต้นทุนโลจิสติกส์
5. หน้าที่ในความรับผิดชอบความสูญหายและเสียหาย (Liability)
เพราะเป็นผู้ให้บริการเก็บรักษาและครอบครองสินค้า ในทางปฏิบัติอาจมีการกำหนดขอบเขต และจำกัดความรับผิดชอบ เช่น กรณีเสียหายจากอัคคีภัย อาจกำหนดเป็นวงเงินต่อพื้นที่เช่าเป็นตารางเมตร
6. หน้าที่ในการส่งมอบและกระจายสินค้า (Delivery & Distribution)
ผู้ผลิตหรือการจัดส่งสินค้าให้ตรงกับความต้องการของผู้รับ ทั้งจำนวน สภาพ สถานที่และเวลา เพื่อส่งมอบให้กับลูกค้า ซึ่งจะต้องมีกระบวนการคัดเลือกสินค้า และระบบการจัดส่งให้กับลูกค้าด้วยหน้าที่นี้ ทำให้คลังสินค้าสามารถแยกออกตามลักษณะของภารกิจ ได้แก่
- คลังสินค้าเพื่อการจัดเก็บ (Storage Warehouse)
- คลังสินค้าสำหรับจำหน่าย (Wholesaler Warehouse)
- ศูนย์ขนส่งสินค้า (Truck Terminal)
- คลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse)
- ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า (Cross Dock Warehouse)
- ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center)
ทั้งนี้การลดต้นทุนโลจิสติกส์ที่ได้ผลและทำได้รวดเร็วเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม คือการลดจำนวนสินค้าคงคลัง โดยการปรับเปลี่ยนกระบวนการในการส่งมอบ ที่เรียกว่า Just In Time โดยภารกิจของคลังสินค้าจะต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการใหม่ โดยเน้นประสิทธิภาพทางด้านเวลา ด้วยการลดช่วงเวลาของการเคลื่อนย้ายสินค้าและการใช้ประโยชน์สูงสุดของพื้นที่ (Space Utility)
ประโยชน์ของโปรแกรมจัดการสินค้าคงคลัง
1.ช่วยแบ่งหมวดหมู่ของสินค้าแต่ละชนิดให้เป็นระบบ
2.ช่วยบริหารจัดการกับสินค้าในคลังโดยนำเทคโนโลยีมาใช้ เพิ่มความสะดวกขึ้น
3.ช่วยเรื่องความปลอดภัยในการจัดเก็บข้อมูล
4.ช่วยประมวลมูลค่าของสินค้า ประมวลผลส่วนกำไรและรายได้ของกิจการ
5.ช่วยให้รู้ถึงสถานะของสินค้า ขาด เหลือ หรือเกิน เป็นจำนวนเท่าใด
6.ช่วยให้เจ้าของกิจการได้เห็นจำนวนและปริมาณของสินค้าเพื่อการวางแผนสู่อนาคต
โปรแกรมจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory) นี้มีความจำเป็นต่อกิจการปัจจุบัน นิยมใช้อย่างแพร่หลายและมากขึ้น เพราะกิจการเหล่านี้ ต้องการความสะดวก รวดเร็ว แม่นยำ และยังเป็นการป้องกันข้อมูลสินค้าได้เป็นอย่างดีอีกด้วย โปรแกรมเหล่านี้สามารถเชื่อมต่อกันได้ทางอินเทอร์เน็ตกับหลายผู้ใช้ทำให้ได้รับรู้ข้อมูลทัน
Odoo ยังมีรายการแอปพลิเคชันที่ครอบคลุมมากกว่า 70 รายการเพื่อจัดการธุรกิจของคุณ
สนใจบริการ ERP Implement & Consulting ติดต่อได้ที่
Email : bds@goconnext.com
Tel. : 088-809-0910 to 16
Line OA : @erphero
#SME #erphero #erp #odoo #ระบบERP #CRM #POS #sale #invoicing #โปรแกรมบัญชี #purchase #Inventory #MRP